ประเด็นท้าทาย : เรื่อง การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ 2 ร่วมกับเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ
ทฤษฎีหมวก 6 ใบ ของ ดร. เอ็ดเวิร์ด เดอ โบโน ศาสตราจารย์ด้านการคิดชาวอิตาลี บอกว่าหมวกแต่ละใบ คือการสร้างเทคนิคการคิดให้เป็นระบบ ด้วยการดึงความรู้และประสบการณ์เดิมของผู้เรียนมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
ซึ่งคนที่สามารถกระตุ้นเด็กให้เกิดการคิดเป็นระบบได้ก็คือครู เพราะไม่ว่าในห้องเรียนเด็กจะแสดงพฤติกรรมแบบไหน หรือมีนิสัยอย่างไรเวลาอยู่กับกลุ่มเพื่อน ครูควรสังเกตนิสัยเบื้องลึกเหล่านั้น แล้วใช้ทฤษฎีหมวก 6 ใบ มาช่วยดึงจุดเด่นของเด็กแต่ละคนออกมา
การสอนแบบจิ๊กซอว์ II (Jigsaw II) เป็นเทคนิคการสอนรูปแบบหนึ่งของการเรียนการสอนแบบร่วมมือ เทคนิคการสอนนี้ได้รับการพัฒนาโดยเอลลิออต อารอนสัน โดยเทคนิคจิกซอว์เป็นการจัดกิจกรรมในห้องเรียนที่ช่วยผู้เรียนให้ประสบความสำเร็จไปพร้อมๆกัน การเรียนการสอนตามเทคนิคนี้จะแบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม และให้นักเรียนแต่ละคนของกลุ่มศึกษาเนื้อหาสาระของแต่ละส่วน เพื่อให้นำเนื้อหาสาระที่ศึกษามาประกอบกันเป็นความรู้เรื่องหนึ่งๆได้ ซึ่งเปรียบเสมือนการต่อจิ๊กซอว์
สภาพปัญหาและความสำคัญ
จากการประมวลสาเหตุของปัญหา และการสัมภาษณ์ครูผู้สอนภาษาไทย โรงเรียนบ้านนา“นายกพิทยากร” ทุกคนมีความเห็นตรงกันว่าสาเหตุที่ส่งผลให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีของนักเรียนต่ำกว่าเกณฑ์อาจเกิดจากตัวนักเรียนที่ไม่มีนิสัยรักการอ่าน มีเจตคติที่ไม่ดีต่อการเรียนวรรณคดีและมีสิ่งเร้าภายนอกที่ทาให้สนใจเนื้อหาการเรียนน้อยลง และอีกประเด็นหนึ่งที่สำคัญคือครูที่นำเทคนิควิธีการสอนมาประยุกต์ใช้น้อย ทำให้กระตุ้นการเรียนรู้ของนักเรียนได้น้อยตามไปด้วยดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยของนักเรียนชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่จัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ 2 ร่วมกับเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ โดยผสมผสานวิธีการเรียนรู้แบบร่วมมือกันด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ 2 ซึ่งเป็นกระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญกับเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ฝึกฝนทักษะการอ่านวิเคราะห์เพื่อพัฒนา ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทยให้สูงขึ้นรวมทั้งเป็นแนวทางในการพัฒนาการจัดการเรียนรู้วรรณคดีไทยให้ หลากหลายและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นด้วย
1. ผู้วิจัยดำเนินการทดลองโดยบันทึกคะแนนกลุ่มตัวอย่างที่ทำแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวรรณคดีไทย เรื่อง นิทานคำกลอนเรื่องพระอภัยมณี ซึ่งเป็นแบบทดสอบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ กำหนดเวลา 30 นาที
2. ผู้วิจัยจัดให้กลุ่มตัวอย่างเรียนวรรณคดีไทยโดยจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ 2 ร่วมกับเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ เป็นเวลา 2 สัปดาห์ รวม 4 คาบ คาบละ 50 นาที
3. นักเรียนกลุ่มตัวอย่างเรียนบทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก โดยใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ 2 และหมวกหกใบ จำนวน 4 คาบ โดย ใช้เวลาในคาบที่ 4 นำเสนอผลงานกลุ่ม 20 นาที และทดสอบ 30 นาที
4. นักเรียนกลุ่มตัวอย่างทำแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือกันด้วย เทคนิคจิ๊กซอว์ 2 ร่วมกับเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ
กิจกรรมนำเสนอ หลังจากใช้เทคนิคจิ๊กซอว์ 2 และหมวก 6 ใบ