ผลลัพธ์การเรียนรู้

ผลลัพธ์การพัฒนาที่คาดหวัง

   3.1 เชิงปริมาณ  นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันด้วย   เทคนิคจิ๊กซอว์ 2 ร่วมกับเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ จำนวน 37 คน โดยหลังเรียน สูงกว่าก่อนเรียน ร้อยละ 60 และอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 

ผลการวิจัย

1. คะแนนเฉลี่ยของผลการทดสอบนิทานคำกลอนพระอภัยมณีของกลุ่มตัวอย่าง  x̅ = 6.91, S.D. = 5.65 ซึ่งใช้วิธีการจัดการเรียนรู้แบบปกติ บรรยายและถอดความ และผลการทดสอบเรื่องบทละครพูดเรื่องเห็นแก่ลูก หลังจัดการเรียนรู้ด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ 2 และหมวกหกใบ  เท่ากับ x̅ = 12.54 , S.D. = 3.02 ) มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าหลังเรียนนักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่เรียนรู้วรรณคดีไทยระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยจัดการ เรียนรู้แบบร่วมมือกันด้วย          เทคนิคจิ๊กซอว์ 2 ร่วมกับเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบแล้ว นักเรียนมีค่าเฉลี่ยคะแนน หลังเรียนด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ 2 ร่วมกับเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบสูงกว่าการเรียนวรรณคดีแบบบรรยายและถอดความ

3.2 เชิงคุณภาพ  ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการ เรียนรู้แบบร่วมมือกันด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ 2 ร่วมกับเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ      มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด             

ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือกันด้วยเทคนิค จิ๊กซอว์ 2 ร่วมกับเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากที่สุดโดยมีค่าเฉลี่ย 4.58 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.59 ซึ่งจากผลการวิเคราะห์ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ แบบร่วมมือกันด้วยเทคนิคจิ๊กซอว์ 2 ร่วมกับเทคนิคการคิดแบบหมวกหกใบ เมื่อแยกพิจารณาแต่ละด้าน เรียงตามลำดับได้ ดังนี้ ด้านบรรยากาศการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ย 4.62 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.63 /ด้านกิจกรรม การจัดการเรียนรู้ / และด้านประโยชน์จากการเรียนรู้ค่าเฉลี่ย 4.51 และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน 0.59